เริ่มต้นวันดีๆ ด้วยการเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ดีของคุณ

เรียนรู้ : การเก็บกู้สารเคมี ชุดป้องกันสารเคมี เบื้องต้นมีอะไรบ้าง

by admin
130 views
ชุดป้องกันสารเคมี

ชุดป้องกันสารเคมี สำคัญอย่างไร กับ การเก็บกู้สารเคมี

การทำงานกับสารเคมี มีทั้งสารเคมีที่มีอันตรายน้อย และ สารเคมีที่มีอันตรายมาก หากเราต้องการรู้ความเป็นอันตรายของสารเคมีที่เราใช้งาน จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของสารเคมีชนิดนั้นๆเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับตัวผู้ปฏิบัติงานและยังช่วยให้สามารถจัดการได้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นพร้อมทั้ง การเก็บกู้สารเคมี ได้ทันถ่วงที

สามารถดูแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัย เกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565  ได้

SDS

เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี SDS คืออะไร

ก่อนที่เราจะพูดถึงชุดป้องกันสารเคมีและการเก็บกู้สารเคมี สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรก ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี คือ เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี หรือที่เราเรียกกันว่า MSDS หรือ SDS (Material Safety Data Sheet หรือ Safety Data Sheet) เป็นเอกสารแสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ซึ่งในเอกสารดังกล่าวจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีชนิดนั้นทั้งหมดอย่างละเอียด จำนวน 16 หัวข้อ ประกอบด้วย

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี ผู้ผลิตและจำหน่าย
  2. ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย
  3. ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
  4. มาตรการปฐมพยาบาล
  5. มาตรการผจญเพลิง
  6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหล
  7. ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา
  8. การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันภัยส่วนบุคคล
  9. คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ
  10. ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
  11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา
  12. ข้อมูลเชิงนิเวศน์
  13. มาตรการการกำจัด
  14. ข้อมูลสำหรับการขนส่ง
  15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ
  16. ข้อมูลอื่น

จากหัวข้อทั้งหมดในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี จะเห็นได้ว่ามีหัวข้อที่จำเป็นที่เราจะต้องรู้ ก่อนที่จะทำการเก็บกู้สารเคมีที่หก หากเราไม่ทำการศึกษาข้อมูลของสารเคมีก่อน อาจทำให้เราได้รับอุบัติเหตุในขณะที่ทำการเก็บกู้สารเคมีได้ เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีคุณสมบัติและความเป็นอันตรายที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาข้อมูลให้เข้าใจเสียก่อน 

ชุดเก็บกู้สารเคมี

ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ การเก็บกู้สารเคมี เบื้องต้น

ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์การเก็บกู้สารเคมีเบื้องต้นมีอะไรบ้าง หากเราไม่รู้ว่าจะต้องสวมใส่หรือใช้ อุปกรณ์อะไรในการเก็บกู้สารเคมีที่หกรั่วไหลสามารถดูได้จากเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เนื่องจากเอกสารดังกล่าวมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีชนิดนั้นๆ อย่างละเอียด ซึ่งหากสารเคมีหกรั่วไหล ให้ดูจากหัวข้อต่อไปนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องการการจัดการกรณีสารเคมีหกรั่วไหล

  • มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหล

ในข้อนี้จะบอกเอาไว้ว่าในกรณีสารเคมีที่เราใช้งานอยู่ หกรั่วไหลจะต้องทำอย่างไรบ้าง ใช้อุปกรณ์อะไรใน การจัดการกับสารเคมีที่หกนั้น ซึ่งอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันในกรณีที่สารเคมีหกรั่วไหลได้แก่

  • อุปกรณ์ดูดซับสารเคมี ซึ่งมีให้เลือกหลายชนิด เช่น ผงดูดซับ แผ่นดูดซับ ทราย เศษผ้า ซึ่งใน

การเลือกใช้งาน ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของสารเคมีด้วย เช่น กรด ด่าง น้ำมัน เป็นต้น แต่ไม่แนะนำให้ใช้ขี้เลื่อย เพราะขี้เลื่อยสามารถติดไฟได้ จึงไม่เหมาะนักที่นำมาทำเป็นวัสดุดูดซับ

  • อุปกรณ์สกัดกั้นของเหลว หรือการจำกัดบริเวณไม่ให้สารเคมีขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจจะใช้

แบบทุ่นล้อมรอบเป็นวง หรือใช้วัสดุดูดซับโรยเป็นแนวกันสารเคมีก็ได้

  • อุปกรณ์ในการทำความสะอาดพื้นที่ เช่น ไม้กวาด ที่ตักผง ถุงหรือภาชนะสำหรับเก็บวัสดุดูดซับ 

ซึ่งเมื่อมีการดูดซับสารเคมีแล้ว จะต้องทำความสะอาดพื้นที่โดยการเก็บวัสดุดูดซับใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ปิดปากให้มิดชิด เขียนป้ายติดไว้ว่าคืออะไร แล้วนำไปไว้ในพื้นที่จัดเก็บขยะอันตราย เพื่อรอส่งกำจัดให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด  หรือหากมีการจัดเก็บสารเคมีในจำนวนน้อยอาจจะเตรียมอุปกรณ์สำหรับเก็บกู้เป็นชุดสำเร็จหรือที่เรียกว่า Spill kit มีครบทุกอย่างเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับใช้งานและในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเก็บกู้สารเคมีต้องให้เหมาะสมกับปริมาณสารเคมีที่มีการจัดเก็บด้วย

ชุด-Spill-kit

การควบคุมการรับสัมผัส และ การป้องกันภัยส่วนบุคคล PPE

ในส่วนนี้จะพูดถึงการควบคุมและการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ซึ่งในส่วนของ PPE จะถูกกำหนดไว้ในส่วนนี้ ว่าสารเคมีชนิดนี้จะต้องสวมใส่อุปกรณ์อะไรบ้าง ตามความเป็นอันตรายของสารเคมี อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานกับสารเคมี ได้แก่

    • หมวกนิรภัย สำหรับป้องกันการกระแทกของศีรษะ
    • ถุงมือกันสารเคมี ซึ่งมีให้เลือกหลายชนิด ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความเป็นอันตรายของสารเคมี ซึ่งถูกระบุอยู่ใน SDS ของสารเคมีชนิดนั้นๆ
    • อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ ขึ้นอยู่กับความเป็นอันตรายของสารเคมี ว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจแบบใด หากสารเคมีมีอันตรายมาก อาจจะต้องใส่หน้ากากแบบมีใส้กรอง แต่หากสารเคมีชนิดนั้นมีความเป็นอันตรายน้อย อาจจะใส่เพียงหน้ากากคาร์บอนเท่านั้น 
    • อุปกรณ์ป้องกันดวงตา การเลือกอุปกรณ์ป้องกันดวงตา เช่น แว่นตา หน้ากากกันสารเคมี ต้องเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของสารเคมี หากสารเคมีที่ใช้งานมีคุณสมบัติกัดกร่อน ต้องเลือกใช้แว่นครอบตากันสารเคมี ไม่สามารถใช้แว่นตานิรภัยแบบปกติได้
    • ชุดกันสารเคมี ใช้สำหรับป้องกันการกระเด็นของสารเคมีสัมผัสร่างกาย 
    • รองเท้านิรภัย ซึ่งในการทำงานกับสารเคมี ในบางครั้งอาจต้องเลือกรองเท้ายาง สำหรับการทำงานกับสารเคมี

ซึ่งในการเลือกสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการเก็บกู้สารเคมี ต้องเลือกให้เหมาะสม กับความเป็นอันตรายของสารเคมี เพื่อให้สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

การเก็บกู้สารเคมีนอกจากต้องศึกษาข้อมูลความปลอดภัยในการทำงานของสารเคมีแล้ว ต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีหกรั่วไหลเก็บไว้ในสถานประกอบกิจการ และต้องปรับปรุงแผนให้ทันสมัยและฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อเกิดเหตุขึ้นจริง จึงจะสามารถปฏิบัติตามแผนได้อย่างถูกต้อง

นอกจากการฝึกซ้อมแล้ว ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุมและระงับเหตุอันตราย และทำการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเก็บหลักฐานการฝึกอบรมพร้อมให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

Related Posts

เกี่ยวกับเรา

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ thaisafehealth เราคือทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ และ ผู้ที่ชื่นชอบการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และ เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับหัวข้อด้านสุขภาพที่หลากหลาย ภารกิจของเราคือให้ผู้คนทั่วไปได้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างรอบรู้เกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของตนเอง

เรื่องล่าสุด

©2023 – All Right Reserved. Designed by thaisafehealth